หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

2050 เมื่อถึงวันที่อาหารหมดโลก


2050 "เมื่อถึงวันที่อาหารหมดโลก"
         จะทำอย่างไรกันดีถ้าอีกหน่อยโลกนี้จะไม่มีอาหารให้กินอีกต่อไป

         ทุกวันนี้คุณกินอิ่มดีกันทุกมื้อไหมคะ ถ้าใช่ล่ะก็ เราอาจจะต้องขอให้คุณจดจำรสชาติอร่อยๆ กลิ่นหอมๆ หรือรูปสวยๆ ของอาหารที่ชอบไว้ให้ดีเชียวค่ะ เพราะนักวิทยาศาสตร์ออกมาเตือนแล้วว่าในปี 2050 อาหารอาจจะเกลี้ยงโลกแน่นอนๆ 

         ดูจากเวลาแล้วหลายคนคิดว่าไกลตัวเหลือเกินว่าจะถึงปีนั้น ดีไม่ดีอาจจะอยู่ไม่ถึงวันนั้นก็เป็นได้ แต่อย่าชะล่าใจเชียวค่ะเพราะนั่นเป็นเพียงการคาดการณ์และคำนวณแบบรักษาน้ำใจชาวโลกเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงถ้าเรายังใช้ทรัพยากรธรรมชาติกันแบบไม่คิด ยังสร้างมลพิษไปทั่วโลก ก็มีความเป็นไปได้สูงมากว่าเราอาจจะเจอภาวะขาดแคลนอาหารไปทั่วโลกก่อนปี 2050

         เรื่องนี้ถูกเสนอขึ้นโดยศาสตราจารย์ Julian Cribb ผู้ซึ่งเชื่อว่าเพราะภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงทางอากาศไปทั่วโลกจะทำให้มนุษย์ขาดแคลนอาหารหรืออาหารหมดโลกในปี 2050 โดยเขาได้เรียกร้องให้ผู้นำ 193 ประเทศทั่วโลกที่กำลังจะมาประชุมเรื่องสภาพอาการเปลี่ยนแปลงที่เมืองแคนคูน สหรัฐอเมริกา ได้เอาปัญหานี้ไปถกกันในที่ประชุมเพื่อหาทางป้องกัน แก้ไข และจัดการบริหารทรัพยากรที่มีอยู่ในขณะนี้ให้เหมาะสมเพื่อเตรียมตัวรับกับวิกฤตที่กำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้า

         เขากล่าวว่าในช่วงกลางศตวรรษที่ 21 หรือประมาณปี 2050 (พ.ศ. 2593) ประชากรโลกจะพุ่งสูงถึง 9.2 พันล้านคน ทำให้เกิดความต้องการอาหารมากกว่าปัจจุบันถึงสองเท่า ในขณะเดียวกันสภาพอากาศก็เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบสุดขั้วจนพื้นที่เพาะปลูกไม่เหมาะและไม่สามารถปลูกพืชพันธุ์อะไรได้เลย หรือสภาพอากาศทำให้ผลผลิตที่ได้เสีย ราคาอาหารก็จะถีบตัวสูงขึ้นหลายเท่าตัว สุดท้ายก็จะนำไปสู่สงครามแย่งชิงอาหารไปทั่วโลก

         ยกตัวอย่างเรื่องที่กำลังเป็นปัญหาในตอนนี้อย่างประเทศอิตาลี สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปในแถบเมดิเตอร์เรเนียนทำให้การปลูกข้าวสาลีไม่ได้ผลอย่างที่ต้องการ ซึ่งเป็นไปว่าอิตาลีจะต้องสั่งซื้อข้าวสาลีจากต่างประเทศเพื่อนำมาผลิตพาสต้าบริโภคกันในประเทศ หรืออย่างอากาศที่ร้อนขึ้นในประเทศฝรั่งเศสทำให้ไวน์ชั้นดีมีรสเปลี่ยนไปจนอีกหน่อยฝรั่งเศสจะไม่ใช่ประเทศที่มีไวน์รสเลิศที่สุดในโลกอีกต่อไปแล้ว หรือใกล้ตัวเข้ามาหน่อยอย่างประเทศเวียดนามที่ส่งออกข้าวราย ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ตอนนี้ข้าวที่ถูกส่งออกก็โดนตีกลับมาเกินครึ่งเนื่องจากคุณภาพ ของข้าว ไม่ได้มาตรฐานอันเนื่องมาจากน้ำทะเลที่หนุนสูงขึ้นจนเข้ามารวมกับแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกคือแม่น้ำโขงและแม่น้ำแดงทำให้ข้าวไม่มีคุณภาพตามที่ตลาดโลกต้องการและมีผลผลิตน้อยลงทุกปี

         และไม่ใช่แค่ศาสตราจารย์ Julian เท่านั้นที่มีความคิดเช่นนี้ องค์กรที่เฝ้าสังเกตการณ์สิ่งแวดล้อมทั่วโลกก็มีรายงานออกมาเช่นกันว่ามลพิษที่มากขึ้น โลกที่ร้อนขึ้นส่งผลให้สภาพอากาศทั่วโลกวิปริต พื้นที่ที่เคยอุดมสมบูรณ์เกิดความแห้งแล้งจนไม่สามารถเพาะปลูกได้ หรือได้ผลผลิตไม่ดี แหล่งน้ำธรรมชาติเหือดแห้ง รวมไปถึงจุดต่างๆ ในมหาสมุทรจะเกิดการขาดออกซิเจนทำให้สิ่งมีชีวิตในบริเวณนั้นเช่น ปลา พืชทะเล หรือสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ พากันตายหมด 
         แม้จะเป็นเพียงการพยากรณ์ล่วงหน้าที่ยังใช้เวลาอีกนานกว่าจะรู้ว่าจริงหรือไม่ แต่ก็อย่านอนใจไปนะคะ เพราะตอนนี้เราก็พอจะเห็นบ้างแล้วว่าราคาอาหารแพงขึ้น พืชผลในบางพื้นที่ที่เคยปลูกได้ก็กลับปลูกไม่ได้เหมือนเดิม ดังนั้นถ้าเราจะฝากความหวังไว้แค่เพียงผู้นำ 193 ประเทศทั่วโลกให้หามาตรการมาช่วยปกป้องโลกก็อาจจะช้าเกินไป ดังนั้นในตอนนี้เราอาจจะต้องเริ่มช่วยโลกและลูกหลานของเราในอนาคตกันตั้งแต่ตอนนี้ค่ะ เริ่มง่าย ๆ ด้วยการลดมลพิษและสร้างพื้นที่สีเขียวให้เยอะๆ เช่น งดใช้ถุงพลาสติก ไม่ใช่รถยนต์ส่วนตัวมากเกินไป ใช้น้ำใช้ไฟอย่างประหยัด รวมไปถึงการช่วยกันปลูกป่า ทำความสะอาดแม่น้ำลำคลอง แม้จะดูเป็นจุดเล็กๆ แต่ถ้าทำกันทั่วโลกมันก็จะรวมกันเป็นจุดใหญ่และอาจจะทำให้เรารอดพ้นจากวิกฤตอาหารหมดโลกก็เป็นได้ ไปได้สูงมากที่อาหารและพืชภัณฑ์ต่างๆ จะหายไปจากโลก





ขอขอบคุณข้อมูลจาก
 

1 ความคิดเห็น: