หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

อีก 10 ปี กทม. น้ำท่วมแน่! แนะทำแก้มลิงด่วน


          กทม. ชั้นในน้ำทะลักแน่ หากท่วมหนักเท่าปี 38 เผยคนกรุงเกือบ 7 แสนคนเสี่ยง โดยเฉพาะเขตบางขุนเทียน บางแค บางบอน แนะสร้างคันกั้นน้ำ ทำแก้มลิงเหนือกรุงโดยเร็ว

          วานนี้ (16 ธ.ค.) นายเสรี ศุภราทิตย์ ผอ.ศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร เปิดเผยว่า จากการศึกษาแบบจำลองผลกระทบภาวะน้ำท่วม และน้ำทะเลสูงขึ้นใน กทม. ชั้นใน และปริมณฑล พบว่า กทม. จะไม่สามารถรับมือน้ำท่วมได้ หากเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เหมือนปี 2538 โดยนำปัจจัย 4 ข้อที่เป็นสาเหตุให้เกิดน้ำท่วม กทม. ชั้นใน มาศึกษาวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพและภูมิประเทศ ได้แก่          1. ปริมาณน้ำฝนที่ตกเพิ่มขึ้นถึง 15% ในปัจจุบัน

          2. แผ่นดินใน กทม.ทรุดตัวลงปีละ 4 มิลลิเมตร

          3. ระดับน้ำทะเลฝั่งอ่าวไทยสูงขึ้น 1.3 ซ.ม. ต่อปี

          4. พื้นที่ชุ่มน้ำ และพื้นที่สีเขียวใน กทม. ลดลงกว่า 50%

          ทั้งนี้ ผลการวิเคราะห์พบว่า หากเกิดน้ำท่วมใหญ่ น้ำจะล้นคันกั้นน้ำเข้ามายัง กทม. ชั้นใน ทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่คลองเตย ถนนบางนาตราด ฝั่งขาออก สวนหลวง ร.9 พื้นที่ลาดพร้าว วังทองหลางทั้งหมด รวมทั้งพื้นที่ฝั่งธนบุรี บางขุนเทียน บางบอน แสมดำ บางแค ถนนพระราม 2 จะมีผู้คนใน กทม.ได้รับผลกระทบประมาณ 680,000 คน โดยน้ำจะเอ่อเข้าท่วมอาคาร 1.16 ล้านหลัง เป็นที่พักอาศัย 9 แสนหลังคาเรือน และ 1 ใน 3 ของผู้ได้รับผลกระทบน้ำท่วม จะอยู่ในพื้นที่บางขุนเทียน บางบอน บางแค และพระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ และยังมีอาคารที่พักอาศัยในเขตดอนเมือง จะได้รับผลกระทบอีก รวมความเสียหายราว 1.5 แสนล้านบาท
          อย่างไรก็ตาม ทางอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ได้เสนอแนวทางป้องกันแก้ไขต่อ กทม.ไว้ 3 ประการ ตั้งแต่สมัยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าฯ กทม. แต่ยังไม่มีการดำเนินการใด ๆ โดยข้อเสนอ 3 ประการคือ

          1. ควรเร่งหาพื้นที่แก้มลิงบริเวณเหนือ กทม. ตั้งแต่สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา เพื่อใช้เป็นที่ระบายน้ำ

          2. เร่งขุดขยายคลองระบายน้ำที่มีอยู่เวลานี้โดยเร็ว

          3. สร้างคันกั้นน้ำในพื้นที่ชายฝั่งทะเล เพื่อป้องกันน้ำเอ่อทะลักเข้ามาในพื้นที่ กทม. โดยสร้างเป็นคันดินในพื้นที่ริมฝั่งทั้งหมด ระยะทาง 80 กิโลเมตร ดังที่ประเทศเวียดนามได้ดำเนินการไปแล้ว


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น